บัญญัติ-กัลยา-ไชยยศ
นำคาราวานประชาธิปัตย์อีสาน
ปลุกพี่น้องเลย !
บัญญัติ-กัลยา-ไชยยศ
นำคาราวานประชาธิปัตย์อีสาน (เลย-ชัยภูมิ-ขอนเเก่น)
ปลุกพี่น้องเลยรากฐานดั้งเดิมปชป.
บัญญัติขอบคุณที่ร่วมทั้งทุกข์และสุข
(23 เม.ย.66) ภูมิสรรค์ เสนีวงศ์ ณ อยุธยา ทปษ.คณะกรรมการยุทธศาสตร์ภาคอีสาน พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึง นายบัญญัติ บรรทัดฐาน อดีตหัวหน้าและประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ พร้อมด้วย ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช นายไชยยศ จิรเมธากร 2รองหัวหน้าพรรค นายภูมิสรรค์ เสนีวงศ์ ณ อยุธยา ที่ปรึกษาคณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ภาคอีสาน และทีมผู้สมัคร ส.ส แบบบัญชีรายชื่อ เปิดศูนย์อำนวยการเลือกตั้ง จ.เลย และลงพื้นที่ จ.เลยทั้ง 4เขต และปราศรัย ณ อ.เชียงคาน ของผู้สมัครฯ นายยงยุทธ ทิพรส ผู้บุกเบิกถนนคนเดินของเชียงคาน โดยมีพี่น้องประชาชนเข้าร่วมคับคั่ง
โดย นายบัญญัติ กล่าวตอนหนึ่งว่า จุดแข็งของปชป. คือ
1.เราเป็นสถาบันพรรคการเมือง
2.เรามีอุดมการณ์ มีความซื่อสัตย์สุจริต มีความจริงจังต่อการแก้ปัญหาให้กับชาติบ้านเมืองและประชาชน และจุดแข็งข้อ3 คือ ผลงานรัฐมนตรีของ ปชป. อาทิ นโยบายประกันรายได้ช่วยประคับประคองเกษตรกรให้ลืมตาอ้าปากได้ ในช่วงเศรษฐกิจของประเทศตกต่ำจากวิกฤตโควิด-19 พิสูจน์ได้จากยอดส่งออกที่มากที่สุดในประวัติศาสตร์ครั้งหนึ่ง ตนจึงมั่นใจว่าการเลือกตั้งครั้งนี้พรรคปชป.จะไม่ผิดหวัง ขอย้ำว่าแม้จะมีคนออกไปจากพรรคไป แต่เราก็ยังมีคนไหลกลับเข้ามาอีกเป็นจำนวนมาก โดยมั่นใจว่าพรรค ปชป. จะยังอยู่ในใจของพี่น้องชาวอีสานเสมอมา เเละขอขอบคุณสมาชิกพรรคจากหัวใจที่อยู่สู้ทั้งยามสุขเเละทุกข์เสมอมา ทางด้านนายไชยยศและคุณหญิงกัลยา ชูเรื่องที่ดินทำกินเเละการวางรากฐานการศึกษาสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิต พี่น้องชาวเลยตอบรับนโยบายในครั้งนี้ว่าทำได้ไวทำได้จริง
ในการเลือกตั้ง14 พฤษภาคมนี้ ขอให้พี่น้องเทคะแนนเสียงเข้าคูหากาให้พรรค ปชป.เบอร์ 26 เลือกทั้งพรรค เลือกทั้งคนของประชาธิปัตย์
#เลือกพรรคประชาธิปัตย์กา26 #สร้างเงินสร้างคนสร้างชาติ #ทำได้ไวทำได้จริง #พรรคประชาธิปัตย์ #DemocratPartyTH #ทีมจุรินทร์
.
———————
📌 16 นโยบาย …
1.ประกันรายได้ “จ่ายเงินส่วนต่าง” ข้าว มัน ยาง ปาล์ม ข้าวโพด
เป็นมาตรการให้หลักประกันรายได้กับเกษตรกรด้วยการ “จ่ายเงินส่วนต่าง” ในยามที่ราคาพืชผลการเกษตรจํานวน 5 ชนิด ได้แก่ “ข้าว มัน ยาง ปาล์ม ข้าวโพด” มีความตกต่ำ หรือน้อยกว่า ราคาขั้นต่ำที่รัฐบาลกําหนดไว้ ให้แก่พี่น้องเกษตรกร เพื่อสร้าง หลักประกันทางรายได้ ความมั่นคงทางอาชีพ และเสริมสร้างคุณภาพ ชีวิตที่ดีของพี่น้องเกษตรกรไทยทั่วประเทศ
นโยบาย ประกันรายได้ “จ่ายเงินส่วนต่าง” ข้าว มัน ยาง ปาล์ม ข้าวโพด ครอบคลุมพื้นที่เพาะปลูกกว่า 95 ล้านไร่ ทั่วทุก ภูมิภาคของประเทศไทย มีพี่น้องเกษตรกรผู้ปลูกพืชทั้ง 5 ชนิด กว่า 8.16 ล้านครัวเรือน แบ่งเป็น
1. ข้าว 4.69 ล้าน ครัวเรือน
2. มันสําปะหลัง 0.76 ล้าน ครัวเรือน
3. ยางพารา 1.88 ล้าน ครัวเรือน
4. ปาล์มน้ำมัน 0.38 ล้าน ครัวเรือน
5. ข้าวโพด 0.45 ล้าน ครัวเรือน
2.ชาวนา รับ 30,000 บาท ต่อครัวเรือน
เป็นมาตรการสนับสนุนชาวนาตามโครงการสนับสนุนค่า บริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ไร่ละ 2,000 บาท ไม่เกิน 15 ไร่ หรือ ไม่เกิน 30,000 บาท ต่อ ครัวเรือน เพื่อสร้างความเข้มแข็งอย่างยั่งยืนให้พี่น้องเกษตรกรชาวนาทั่วประเทศ และเพื่อเป็นขวัญและกําลังใจในการประกอบอาชีพ สามารถพัฒนา ตัวเอง ยกระดับคุณภาพชีวิต และครอบครัวให้ดีขึ้น
นโยบาย “ชาวนารับ 30,000 บาท ต่อ ครัวเรือน” ครอบคลุมพี่น้องชาวนาทั่วประเทศกว่า 4.69 ล้านครัวเรือน คิดเป็น พื้นที่ปลูกข้าวกว่า 62 ล้านไร่ ทั่วประเทศ ดังนี้
• ตะวันออกเฉียงเหนือ 3.11 ล้าน ครัวเรือน 38.82 ล้าน พื้นที่ (ไร่)
• กลาง 0.74 ล้าน ครัวเรือน 15.50 ล้าน พื้นที่ (ไร่)
• เหนือ 0.55 ล้าน ครัวเรือน 4.51 ล้าน พื้นที่ (ไร่)
• ตะวันตก 0.10 ล้าน ครัวเรือน 1.25 ล้าน พื้นที่ (ไร่)
• ตะวันออก 0.11 ล้าน ครัวเรือน 1.76 ล้าน พื้นที่ (ไร่)
• ใต้ 0.08 ล้าน ครัวเรือน 0.79 ล้าน พื้นที่ (ไร่)
3.ฟรี นมโรงเรียน 365 วัน
“นม” ประกอบด้วยสารอาหารที่มีส่วนสําคัญในการเสริมสร้าง พัฒนาการทางสมอง สติปัญญา และร่างกายของเด็กให้เจริญเติบโต สมวัย ตลอดจน เป็นการวางรากฐานการเจริญเติบโตของเด็กอย่างมี คุณภาพ เพื่อสร้างชาติ สร้างสังคมที่มีความมั่นคง ยั่งยืนต่อไปใน อนาคต “รัฐบาลชวน 1” ได้ริเริ่ม โครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน สําหรับเด็กอนุบาลถึงประถมศึกษาปีที่ 4 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 และ พัฒนาต่อเนื่องเรื่อยมา จนถึงปัจจุบันกําหนดให้เด็กตั้งแต่ระดับชั้น อนุบาลจนถึงประถมศึกษาปีที่ 6 ทั้งโรงเรียนที่สังกัดรัฐบาลและเอกชน ได้ดื่มนมฟรีจํานวน260-280วันเฉพาะวันที่ไปโรงเรียน
พรรคประชาธิปัตย์ห่วงใย และใส่ใจต่อพัฒนาการในวัยเด็กจึง ขยายโครงการนมโรงเรียนให้ครอบคลุมความต้องการมากขึ้น ด้วย นโยบาย “ฟรี นมโรงเรียน 365 วัน” เพื่อต้องการให้เด็กนักเรียน ระดับชั้นก่อนอนุบาลจนถึงประถมศึกษาปีที่ 6 ได้ดื่มนมฟรีทุกวัน ตลอดทั้งปี โดยครอบคลุมนักเรียนประมาณ 7 ล้านคน ทั่วประเทศ
นอกจากนี้ ยังจะเป็นการสนับสนุนอุตสาหกรรมโคนม ภายในประเทศให้เติบโตขึ้นด้วย
4.ประมงท้องถิ่นรับ 100,000 บาท ทุกปี
เป็นมาตรการเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กลุ่ม “ชาวประมง ท้องถิ่น” โดยการสนับสนุนเงินทุนให้ กลุ่มละ 100,000 บาท ทุกปี สําหรับการพัฒนาศักยภาพของชาวประมงท้องถิ่นใหส้อดคล้องกับความ ต้องการ และสภาพของแต่ละชุมชน โดยสามารถทํากิจกรรมจากเงินทุน สนับสนุนได้เช่น (1) กิจกรรมพัฒนาอาชีพประมง (2) กิจกรรมเพิ่ม ผลผลิตสัตว์น้ำ (3) เพิ่มมูลค่าสัตว์น้ำ และ (4) การถ่ายทอดเทคโนโลยี และเพิ่มทักษะการทําการประมง
ปัจจุบันประมงท้องถิ่นมีการรวมตัวกันมากกว่า 2,800 กลุ่ม กระจายตัวอยู่ในทุกจังหวัดทั่วประเทศ โดยมีผู้ประกอบอาชีพประมง ท้องถิ่นเป็นสมาชิกรวมกว่า 1 แสนราย แบ่งเป็น
1. กลุ่มประมงทะเลชายฝั่ง
2. กลุ่มประมงทะเลนอกชายฝั่ง
3. กลุ่มประมงน้ำจืด
4. กลุ่มการแปรรูปสัตว์น้ำ
5. กลุ่มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
ทั้งนี้ ในปี 2565 สามารถจัดเงินสรรเงินสนับสนุนให้แก่กลุ่ม ประมงท้องถิ่นได้เพียง 200 กลุ่มเท่านั้น ดังนั้น นโยบาย “ประมงท้องถิ่น รับ 100,000 บาท ทุกปี” จึงต้องการสร้างความเข้มแข็งให้ชาวประมง ท้องถิ่นซึ่งถือเป็นเศรษฐกิจฐานรากที่สําคัญของไทยให้มีการพัฒนาต่อ ยอดอาชีพอย่างต่อเนื่องในทุกปี
5.ธนาคารหมู่บ้าน – ชุมชน แห่งละ 2 ล้านบาท
วิกฤตโควิด 19 ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ทําให้เกิดการสูญเสียเม็ด เงินที่เศรษฐกิจเคยได้รับในจํานวนเท่ากับรายจ่ายงบประมาณประจําปี จํานวน 3 ล้านล้านบาท สร้างความเสียหายเดือดร้อนแก่ประชาชน โดยเฉพาะประชาชนที่ยากจน และอยู่ในพื้นที่ห่างไกล
การจัดตั้งธนาคารหมู่บ้าน และชุมชนเมือง จะดําเนินการตาม พระราชบัญญัติสถาบันการเงินประชาชน. พ.ศ. 2562 โดยมี ธนาคาร เพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) และ ธนาคารออมสิน ให้การสนับสนุนแก่หมู่บ้าน – ชุมชนเมือง แห่งละ 2 ล้านบาท เพื่อเป็น แหล่งเงินทุนให้ประชาชนสามารถเดินหน้าประกอบอาชีพ และมีรายได้ ซึ่งจะเป็นการสร้างความเข้มแข็งให้แก่ประชาชนในระดับรากหญ้า
6.ปลดล็อค ประมงพาณิชย์ ภายใต้ IUU
เป็นมาตรการแก้ไขปัญหาภาวะผันผวนในธุรกิจประมงของไทย ที่มาจากเงื่อนไขขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) รวมถึงสหภาพยุโรป (EU) ซึ่งเป็นคู่ค้าที่มีอิทธิพลในการกําหนด เงื่อนไขกฎเกณฑ์ที่เข้มงวดในการทําธุรกิจประมง เพื่อแก้ไขปัญหาการทํา ประมงที่ผิดกฎหมาย ทําลายสภาพแวดล้อมถึงระบบนิเวศน์ของโลก รวมถึงการละเมิดสิทธิมนุษยชนในแรงงานธุรกิจประมง (IUU) ทําให้ธุรกิจ ประมงไทยเผชิญปัญหาอย่างรุนแรง
นโยบาย “ปลดล็อค ประมงพาณิชย์ ภายใต้ IUU” ต้องการพลิกฟื้น ธุรกิจประมงไทยให้กลับมาสร้างรายได้เข้าประเทศจํานวนมหาศาล อีกครั้ง ภายใต้การปฏิบัติตามเงื่อนไขที่สากลยอมรับ โดยการแก้ไข กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประมง ทั้งระบบ โดยเฉพาะการปรับปรุง กฎหมายประมง ปี 2558 ที่มีเงื่อนไขบีบรัดเกินความจําเป็นกับผู้เกี่ยวกับ ธุรกิจประมง จนไม่สามารถปฏิบัติได้ ซึ่งได้รับการร้องเรียนจากสมาคม ผู้ประกอบการประมงมาโดยตลอด อาทิ
(1) ข้อเสนอให้แก้ไขบทบัญญัติใน พ.ร.ก.ประมง คลายความ เข้มงวดโดยเฉพาะบทลงโทษที่รุนแรง เพื่อเปิดโอกาสให้ธุรกิจประมงไทย สามารถเดินหน้าต่อไปได้ (2) แก้ไขปัญหาแรงงานในธุรกิจประมง ที่ยังขาดแคลนและถูกจํากัดด้วยเงื่อนไขกฎหมาย (3) การเยียวยาจาก รัฐบาลต่อผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากกฎหมาย รวมถึง การแก้ไขปัญหาราคาสินค้าสัตว์น้ำที่ตกต่ำ เป็นต้น
7.ออกโฉนดที่ดิน 1 ล้านแปลง ภายใน 4 ปี
ปัจจุบัน กรมที่ดิน กระทรวงมหาดไทย สามารถออกโฉนด ที่ดินให้แก่ประชาชนได้ ปีละประมาณ 1.2 แสนแปลง ซึ่งไม่สามารถ สนองตอบต่อความต้องการที่เพิ่มมากขึ้นได้ มีความล่าช้าเนื่องด้วย ข้อจํากัดของระบบราชการ ขาดงบประมาณสนับสนุน อุปกรณ์ เครื่องมือ และมีบุคลากรไม่เพียงพอ
พรรคประชาธิปัตย์ จึงจัดทํานโยบาย “ออกโฉนดที่ดิน 1 ล้านแปลง ภายใน 4 ปี” เป็นมาตรการเชิงรุกที่ต่อยอดการออกโฉนด ที่ดินทํากินของกรมที่ดิน ให้มีความรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยมีเป้าหมายในการออกโฉนดที่ดินจํานวน 1 ล้านแปลงภายในเวลา 4 ปี เพื่อสร้างหลักประกันในชีวิต ความมั่นคงในอาชีพให้แก่พี่น้อง ประชาชน และช่วยกระตุ้นการพัฒนาในภาพรวมด้วย
ในช่วง 120 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ. 2444-2564) ประเทศไทยมี การออกโฉนดที่ดินไปแล้ว จํานวนกว่า 34.8 ล้านแปลง คิดเป็นเนื้อที่ ประมาณ 101 ล้านไร่ ยังคงผู้ถือเอกสารสิทธิ์ประเภทอื่น ๆ ที่ต้องการ ออกเป็นโฉนดที่ดินอีกประมาณ 4.2 ล้านแปลง คิดเป็นเนื้อที่ประมาณ 25 ล้านไร่
8.ออกกรรมสิทธิ์ทํากิน ให้ผู้ทํากินในที่ดินของรัฐ
เป็นมาตรการแก้ไขปัญหาที่ดินทํากินของพี่น้องเกษตรกร เพื่อสร้างหลักประกันในการประกอบอาชีพและอยู่อาศัย โดย “ออกกรรมสิทธิ์ทํากิน” ให้แก่ประชาชนที่ทํากินในที่ดินของรัฐ ซึ่งสามารถแบ่งได้ออกเป็น 2 ลักษณะ คือ (1) ประชาชนที่ทํากินใน ที่ดินรกร้างหรือไม่ใช้ประโยชน์ใด ๆ ของทางราชการ และ (2) ที่ดินที่ รัฐประกาศเขตทับซ้อนกับที่ดินของประชาชนที่ได้ใช้ทํามาหากินมาแต่ เดิม
นโยบาย “ออกกรรมสิทธิ์ทํากิน ให้ผู้ทํากินในที่ดินของรัฐ” เป็นการรับรองการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่ดังกล่าว ให้ถูกต้องตาม กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับประชาชน ในสิทธิทํากินระหว่างกระบวนการพิสูจน์สิทธิ์ยังไม่ยุติ ทั้งนี้ ยังเป็นการ กระจายการถือครองที่ดินให้เกิดความเป็นธรรม เกิดประโยชน์สูงสุด และลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม
9.อินเทอร์เน็ตฟรี 1 ล้านจุด ทุกหมู่บ้าน ทุกห้องเรียน
นโยบาย “อินเทอร์เน็ตฟรี 1 ล้านจุด ทุกหมู่บ้าน ทุก ห้องเรียน” เป็นนโยบายเพื่อรองรับการสร้างสังคม และการศึกษา “ทันสมัย” โดยติดตั้งสัญญาณอินเตอร์เน็ตไร้สายหรือ WIFI จํานวน 1 ล้านจุด ครอบคลุมพื้นที่ทุกหมู่บ้าน และโรงเรียนทั่วประเทศ แบ่งเป็น หมู่บ้าน จํานวน 6 แสนจุด และโรงเรียน จํานวน 4 แสนจุด เพื่อส่งเสริมการเข้าถึงเทคโนโลยีการสื่อสารในสังคมยุคดิจิทัล และ ประโยชน์ในการเรียนรู้ของเด็ก เยาวชน ตลอดจน โอกาสในการสร้าง งาน สร้างอาชีพ ให้กับประชาชนทั่วไป
“ฟรีทุกหมู่บ้าน” หมายถึง ครอบคลุมหมู่บ้าน และชุมชน เมืองที่กระจายตัวอยู่ทั่วประเทศกว่า 7.9 หมื่นแห่ง โดยอินเทอร์เน็ตจะ อํานวยความสะดวกให้ประชาชนสามารถติดต่อสื่อสาร ทําธุรกรรม การค้าขายออนไลน์ ตลอดจน เป็นแหล่งเรียนรู้ ค้นคว้าหาข้อมูลในยุค ดิจิทัลได้อย่างสะดวกรวดเร็วเพื่อพัฒนาไปสู่สังคมทันสมัย ก้าวทันโลก ยุคปัจจุบัน (สร้างคนในชุมชนให้มีการศึกษาตลอดชีวิต เพื่อสร้างเงินให้ตัวเอง)
“ฟรีทุกห้องเรียน” หมายถึง สัญญาณอินเทอร์เน็ต 4 แสน จุด ซึ่งจะครอบคลุมห้องเรียนกว่า 3.5 แสนห้อง ในโรงเรียนระดับ ชั้นประถมศึกษาถึงมัธยมศึกษาทั่วประเทศกว่า 29,000 แห่ง ส่งเสริม
การเรียนรู้ในโลกยุคใหม่ ให้เด็กนักเรียนได้กว่า 6.6 ล้านคน (สร้างคนใน ระบบการศึกษา)
10.เรียนฟรี ถึงปริญญาตรี สาขาที่ตลาดต้องการ
จากรายงานของสํานักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) ได้มีการสํารวจสมรรถนะ บุคลากรในอนาคตสําหรับ 12 กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย (พ.ศ. 2563- 2567) พบว่า ต้องการแรงงานที่มีทักษะด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีที่ เกี่ยวข้องมากกว่า 1.5 แสนอัตรา ภายในระยะเวลา 5 ปี
ดังนั้น เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องทักษะของตลาดแรงงาน ปัจจุบัน พรรคประชาธิปัตย์ จึงมีนโยบาย “เรียนฟรี ถึงระดับปริญญาตรี สาขาที่ตลาดต้องการ” เช่น วิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ นวัตกรรม เทคโนโลยีสารสนเทศ ฯลฯ ซึ่งสามารถตอบสนองต่อกลุ่มอุตสาหกรรมต่าง ๆ ในปัจจุบัน เช่น อุตสาหกรรมหุ่นยนต์, อุตสาหกรรมดิจิตอล อุตสาหกรรม การบินและโลจิสติกส์ เป็นต้น ภายใต้แนวคิด “การตลาดนําการผลิต” เพื่อ ผลิตบัณฑิตให้ตรงตามความต้องการของตลาดแรงงาน
ทั้งนี้ นโยบาย “เรียนฟรี ถึงปริญญาตรี สาขาที่ตลาดต้องการ” ให้หมายรวมถึง สาขาวิชาอื่น ๆ ในอนาคตที่อาจมีบัณฑิตจบการศึกษา น้อยลง และมีแนวโน้มกระทบต่อตลาดแรงงาน โดยนโยบายนี้ จะ เอื้ออํานวยให้ตลาดแรงงานเกิดความสมดุลในระยะยาว ส่งผลดีต่อระบบ เศรษฐกิจในภาพรวม และแก้ไขปัญหาการว่างงานของบัณฑิตจบใหม่
ข้อมูล : ความต้องการตลาดแรงงานใน 12 อุตสาหกรรมเป้าหมาย
สํานักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม แห่งชาติ (สอวช.) สํารวจความต้องการทักษะแรงงานในอนาคต (พ.ศ. 2563 – 2567) สําหรับ 12 กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย ดังนี้
1. อุตสาหกรรมดิจิทัล 30,742 ตําแหน่ง
2. อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ 29,289 ตําแหน่ง
3. อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร 17,732 ตําแหน่ง
4. อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดี/เชิงสุขภาพ 15,432ตําแหน่ง
5. อุตสาหกรรมเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ 14,907 ตําแหน่ง
6. อุตสาหกรรมพัฒนาบุคลากรและการศึกษา 13,306 ตําแหน่ง
7. อุตสาหกรรมอาหารแห่งอนาคต 12,458 ตําแหน่ง
8. อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ 12,231 ตําแหน่ง
9. อุตสาหกรรมหุ่นยนต์ 10,020 ตําแหน่ง
10. อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ 9,836 ตําแหน่ง
11. อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ 6,434 ตําแหน่ง
12. อุตสาหกรรมป้องกันประเทศ 5,219 ตําแหน่ง
11.ตรวจสุขภาพ ฟรี รักษา ฟรี ใช้บัตรประชาชนใบเดียว
นโยบาย “ตรวจสุขภาพ ฟรี รักษา ฟรี บัตรประชาชนใบเดียว” เป็นมาตรการเพื่อสร้างความเท่าเทียมในการเข้าถึงการรักษาพยาบาล ซึ่ง ประกอบด้วย มาตรการเชิงป้องกัน คือการตรวจสุขภาพฟรี และมาตรการ รักษา คือ การรักษาโรคภายหลังตรวจเจอ
นโยบายเป็นการต่อยอดผลงานในอดีตของพรรคฯ กล่าวคือ ในปี 2532 ได้ริเริ่มการรักษาพยาบาลฟรีแก่กลุ่มผู้สูงอายุ ต่อมาในรัฐบาลชวน 1 ในปี 2537 ได้ริเริ่ม “โครงการสวัสดิการประชาชนด้านการ รักษาพยาบาล” ซึ่งจัดให้ขยายสิทธิการรักษาพยาบาลเพิ่มเติมอีก 6 กลุ่ม คือ (1) ครอบครัวผู้มีรายได้น้อย (2) เด็กแรกเกิด (3) ผู้พิการ (4) กลุ่มผู้นําศาสนา (5) ทหารผ่านศึกและครอบครัว และ (6) นักเรียน ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โดยโครงการดังกล่าว ครอบคลุมประชากรถึง 20 ล้านคน หรือ ร้อยละ 33 ของประชากรไทยในปี 2543
ทั้งนี้ ในรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ ได้ริเริ่มนโยบาย “บัตรประชาชนใบเดียวรักษาฟรี” ซึ่งครอบคลุมประชากรกว่า 48 ล้านคน โดยไม่จําเป็นต้อง เสียเงิน 30 บาทอีกต่อไป
ดังนั้น นโยบาย “ตรวจสุขภาพ ฟรี รักษา ฟรี บัตรประชาชนใบ เดียว” จึงเป็นการต่อยอด และพัฒนานโยบายเดิมที่ประสบความสําเร็จในอดีตต่อไป ภายใต้หลักคิด การพัฒนาระบบสาธารณสุขที่มีคุณภาพ เท่า เทียม ทั่วถึง และมุ่งขยายสิทธิการรักษาฟรีให้ครอบคลุมประชาชน โดยเฉพาะ กลุ่มเปราะปรางในสังคม
12.ชมรมผู้สูงอายุ รับ 30,000 บาท ทุกหมู่บ้าน ทุกชุมชน
นโยบาย “ชมรมผู้สูงอายุ รับ 30,000 บาท ทุกหมู่บ้าน ทุก ชุมชน” เป็นมาตรการเพื่อรองรับการก้าวไปสู่การเป็น “สังคมผู้สูงอายุอย่าง สมบูรณ์” (Complete-aged society) ของไทย โดยมุ่งต่อยอดสวัสดิการเดิมของผู้สูงอายุที่ได้รับในรูปแบบ “เบี้ยรายเดือน” ให้ขยายครอบคลุมมิติ อื่น ๆ เพิ่มมากขึ้น เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุอย่างรอบด้าน ที่ สําคัญ 3 ประการ ได้แก่ (1) การพัฒนาอาชีพเสริมหลังวัยเกษียณ (2) การ ส่งเสริมสุขภาพอนามัย และ (3) การส่งเสริมกิจกรรมยามว่าง หรือสันทนา การต่างๆ
นโยบาย “ชมรมผู้สูงอายุ รับ 30,000 บาท ทุกหมู่บ้าน ทุก ชุมชน” จะให้เงินอุดหนุนชมรมผู้สูงอายุ ชมรมละ 30,000 บาท ทุกปี โดย ปัจจุบัน มีชมรมผู้สูงอายุ ทั่วทั้งประเทศเกือบ 3 หมื่นแห่ง สําหรับการใช้ จ่ายเงินอุดหนุนในแต่ละปี ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ และแนวทางการ พัฒนาของสมาชิกชมรมฯ เป็นสําคัญ
ทั้งนี้ จากข้อมูลสถิติผู้สูงอายุ ของสํานักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง ณ เดือนมกราคม 2566 สะท้อนให้เห็นว่าประเทศไทยมีผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป กว่า 12.6 ล้านคน หรือคิดเป็น 1 ใน 5 ของ ประชากรทั้งหมด ซึ่งสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ขององค์การสหประชาชาติ ที่ กําหนดว่า ประเทศใดมีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป มากกว่าร้อยละ 20 และ ประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไป มากกว่าร้อยละ 14 ของประชากรทั้งหมด ถือว่า ประเทศนั้นเป็นสังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์
13. SME ต้องมีแต้มต่อ 3 แสนล้าน
“SME” ถือเป็นจักรกลสําคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก ของประเทศ ครอบคลุมหลากหลายธุรกิจ เช่น ภาคเกษตรกรรม ภาคอุตสาหกรรม ภาคบริการ ภาคการท่องเที่ยว เป็นต้น จากข้อมูลในปี 2565 พบว่า มีจํานวนผู้ประกอบการ SME ประมาณ 3.2 ล้านราย ก่อให้เกิดการจ้างงานกว่า 12.6 ล้านคน โดยมีมูลค่าส่งออกกว่า 1 ล้านล้าน บาท คิดเป็นร้อยละ 10.6 ของยอดการส่งออกรวมตลอดปี
นโยบาย “SME ต้องมีแต้มต่อ 3 แสนล้าน” จึงต้องการยกระดับ ขีดความสามารถของ SME ไทยให้สามารถแข่งขันทั้งตลาดภายใน และ ต่างประเทศ โดยเฉพาะกับธุรกิจขนาดใหญ่ได้ ตลอนจน เพื่อเสริมสร้าง ความมั่งคงให้กับเศรษฐกิจฐานรากของประเทศ ทั้งนี้ จะดําเนินมาตรการ เพื่อเป็นแต้มต่อให้กับ SME 3 ประการ คือ
แต้มต่อที่ 1 ด้านการผลิต สนับสนุนให้ SME มีการบริหารธุรกิจที่ ทันสมัย บนพื้นฐานของนวัตกรรมสมัยใหม่ เพื่อประสิทธิภาพสูงสุดของการ ดําเนินธุรกิจ สร้างการยอมรับของตลาด และมุ่งปรับเปลี่ยนองค์กรสู่ยุค ระบบเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Transformation)
แต้มต่อที่ 2 ด้านการตลาด ผลักดัน SME ให้มีโอกาสเข้าสู่ตลาดทั้ง ภายใน และต่างประเทศ โดยให้สิทธิพิเศษด้านการตลาดในนิทรรศการที่เกี่ยวข้อง เพื่อประชาสัมพันธ์สินค้า และบริการของตนต่อตลาดภายนอกได้
แต้มต่อที่ 3 จัดตั้งกองทุน 3 แสนล้านบาท เพื่อให้กลุ่ม SME สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุน สําหรับการพัฒนา ต่อเติม ขยายกิจการ ตลอดจนการเพิ่มทุนธุรกิจเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากให้กับประเทศ ต่อไปได้
14.ปลดล็อค กบข. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ให้ซื้อบ้านได้
นโยบาย “ปลดล็อก กบข. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ให้ซื้อบ้านได้” คือ มาตรการเพิ่มสิทธิให้แก่สมาชิก กบข. และกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ใน การขอรับเงินจากกองทุนที่ตนเป็นสมาชิก ไม่เกินร้อยละ 30 ของเงินสะสม เงินสมทบ และผลประโยชน์ตอบแทนอื่นรายบุคคล เพื่อนําไปจัดหาที่อยู่ อาศัย หรือชําระหนี้บ้านที่ได้มีการกู้เงินจากสถาบันการเงินไปก่อนหน้านี้ โดยผลักดันให้มีการแก้ไขกฎหมายจํานวน 2 ฉบับ คือ พระราชบัญญัติ กองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ พ.ศ. 2539 และ พระราชบัญญัติ กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530
โดยนโยบายฯ ดังกล่าว จะเป็นการเพิ่มโอกาสในการมีบ้านเป็นของ ตนเอง ให้แก่ข้าราชการ พนักงานของรัฐ และเอกชน โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ที่ อยู่ในวัยเริ่มทํางาน และมีรายได้น้อย ทั้งนี้ บ้านถือเป็น “ทรัพย์สิน” ที่ สร้างความมั่นคงให้กับชีวิตในระยะยาว
สําหรับ กบข. และ กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ มีพันธกิจสําคัญในการ บริหารจัดการเงินบําเหน็จบํานาญของข้าราชการ และสวัสดิการแก่ลูกจ้าง ในภาคเอกชน ภายหลังเกษียณอายุ หรือลาออกจากงาน ตลอดจน ส่งเสริมการออมของกลุ่มอาชีพข้างต้น ปัจจุบันทั้ง 2 กองทุน มีสมาชิก รวมประมาณ 4 ล้านคน และมีมูลค่าสินทรัพย์รวม ประมาณ 2.5 ล้านล้าน บาท
15. 3 ล้านบาท ต่อยอดเกษตร แปลงใหญ่
นโยบาย “3 ล้านบาท ต่อยอดเกษตร แปลงใหญ่” เป็น มาตรการสนับสนุนให้มีการปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิต ตั้งแต่ต้นน้ำไป จนถึงปลายน้ำ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภาค การเกษตร กล่าวคือ “เกษตรแปลงใหญ่” เป็นแนวคิดที่ส่งเสริมให้ เกษตรกรรวมกลุ่ม เพื่อร่วมกันผลิตสินค้า บริหารจัดการ และการจัดหา ตลาดเพื่อจําหน่ายสินค้า ซึ่งแนวคิดฯ นี้ ส่งผลสําคัญ อย่างน้อย 3 ประการ คือ (1) เป็นการลดต้นทุนการผลิต (2) มีการจัดหาตลาดรองรับ สินค้าเกษตรไว้ล่วงหน้า และ (3) สร้างความเข้มแข็งให้กับกลุ่มเกษตรกร เพิ่มอํานาจต่อรองในระบบตลาด
ดังนั้น นโยบาย “3 ล้านบาท ต่อยอดเกษตร แปลงใหญ่” จึง เป็นมาตรการสําคัญในการผลักดันให้มีการยกระดับ และปฏิรูปภาค การเกษตรไทย สู่ “การเกษตรทันสมัย” ทั้งนี้ ยังเป็นแนวทางหนึ่ง ภายใต้ยุทธศาสตร์ “ตลาดนําการผลิต” ของพรรคประชาธิปัตย์อีกด้วย
ทั้งนี้ การดําเนินนโยบายเกษตรแปลงใหญ่ในช่วงปี 2559 – 2564 พบว่า สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มกว่า 7 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็น ลด ต้นทุนกว่า 3 หมื่นล้านบาท และ เพิ่มผลผลิตกว่า 4 หมื่นล้านบาท ขณะที่ข้อมูล ณ ปัจจุบัน (1 ก.พ. 66) มีการรับรองการขึ้นทะเบียนเกษตร แปลงใหญ่แล้ว ประมาณ 1 หมื่นแปลง คิดเป็นเนื้อที่ประมาณ 8 ล้านไร่ มีเกษตรกรประมาณ 5 แสนราย
16.ค่าตอบแทน อกม. 1,000 บาท ต่อเดือน
อาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน หรือ อกม. จัดตั้งขึ้นในปี 2554 โดย กําหนดให้มี อกม. หมู่บ้านละ 1 คน วาระละ 4 ปี จากการคัดเลือกของที่ ประชุมอาสาสมัครเกษตรและผู้แทนเกษตรกรระดับหมู่บ้าน เพื่อทําหน้าที่ ประสานการทํางาน ระหว่างอาสาสมัครเกษตรแขนงอื่นๆ เกษตรกรใน หมู่บ้าน องค์กร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะหน่วยงานภายใต้ กํากับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
นอกจากนี้ อกม. ยังมีหน้าที่ที่สําคัญอีก 4 ประการ คือ (1) จัดเก็บ รวบรวมข้อมูลพื้นฐานด้านการเกษตรของหมู่บ้าน (2) ร่วมจัดทําแผนพัฒนา การเกษตรระดับหมู่บ้านกับกรรมการหมู่บ้านและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (3) ประสานงานในการถ่ายทอดความรู้และแก้ไขปัญหาของเกษตรกรใน หมู่บ้าน และ (4) ติดตามสถานการณ์การเกษตรในหมู่บ้านและรายงาน เหตุการณ์ฉุกเฉินเร่งด่วนต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ทั้งนี้ ประกอบกับนโยบายของพรรคประชาธิปัตย์ที่มุ่งพัฒนาการ เกษตรไทยสู่ยุค “การเกษตรทันสมัย” ที่รองรับด้วยนวัตกรรมสมัยใหม่ ดังนั้น บทบาทและหน้าที่ของ อกม. จึงมีความสําคัญมากขึ้นเป็นลําดับ ใน ฐานะ “ผู้ประสานงานกลาง” เพื่อขับเคลื่อนภารกิจดังกล่าว
นโยบาย “ค่าตอบแทน อกม. 1,000 บาท ต่อเดือน” จึงต้องการ ตอบแทน อกม. และเป็นขวัญกําลังใจในการปฏิบัติงาน เพื่อขับเคลื่อนการ พัฒนาภาคการเกษตรให้บรรลุตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ ทั้งนี้ ปัจจุบัน มี อกม. ทั่วประเทศ ประมาณ 7.6 หมื่นราย
——————————–
ช่องทางการติดต่อ / ติดตาม ผลงาน
YouTube ทนายเนติธร :
https://www.youtube.com/channel/UC-29fk6e_-z1kBkgcPxtr1Q
——————————–
Facebook page ศูนย์ประสานงาน
พรรคประชาธิปัตย์ จังหวัดเลย
https://www.facebook.com/profile.php?id=100090864156673&mibextid=ZbWKwL
———————————
เว็บไซต์ :
http://www.ek-buranabondh.com/
———————————
Facebook ทนายเนติธร :
https://www.facebook.com/natithol?mibextid=ZbWKwL
———————————-
#ประชาธิปัตย์
#สร้างเงินสร้างคนสร้างชาติ
#อุดมการณ์ทันสมัยทำได้ไวทำได้จริง
#เอกบุรณพนธ์